นกกระรางคอดำ
เป็นนกขนาดกลาง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ลำตัวอ้วนป้อม ปากสีดำ หนาสั้น ปลายแหลม ตาสีแดง หน้าผากและคอสีดำ
เหนือหน้าผาก มีขนขาวเรียงเป็นแถวในแนวขวาง ข้างลำตัวมีแถบขาว จากใต้คอมีแถบสีดำ พาดจากใต้คอถึงอก
หัวตอนบนถึงท้ายทอย และอกสีเทาอ่อน ลำตัว ท้อง ปีก และหาง สีนำตาล หางยาวประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว
มักอยู่เป็นฝูง หากินตามพุ่มไหรือพื้นดิน ร้องเสียงดังมาก และมักร้องพร้อม ๆ กัน บางครั้งสามารถเลียนเสียงคนได้ ทำรัง
เป็นรูปถ้วยอยู่ตามพุ่มไม้ วางไข่ครั้งละ 3 ฟอง ผลัดกันกกไข่ประมาณ 14 วัน
พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และบางส่วนของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นกกระรางทองแก้มขาว
เป็นนกสวยงาม ตัวยาวประมาณ 18 เซนติเมตร หัวสีดำ บริเวณแก้มและหูสีเทาแกมขาว ใต้คางและคอตัวผู้เป็นสีส้ม ตัวเมีย สีเหลือง ยอดอกสีเทาอมเหลือง ท้องสีเหลืองอ่อน หลังและหัวปีกสีเทา กลางปีกสีอิฐ ปลายปีกสีเทาขอบบนสีเหลือง หางด้านบน
สีเทา ด้านล่างสีเทาอ่อน บริเวณก้นตัวผู้สีส้มอมน้ำตาล ตัวเมียสีเหลือง
อยู่รวมเป็นฝูงตามที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตร ขึ้นไป
นกกระรางหัวขวาน
เป็นนกขนาดกลาง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปากสีดำยาวโค้ง หงอนสีส้มปลายสีดำ ลำตัวสีน้ำตาลอมเหลือง มีลายสีดำ
สลับน้ำตาลอ่อน ตามขวางลำตัว หากินตามที่โล่ง ขณะเดินจะส่วยหัวไปมา พร้อมกับใช้ปากแทงไปในร่อง
หรือรูบนพื้นดินซ้ำ ๆ เพื่อจิกกินเหยื่อ ร้องเสียงดัง ฮู โป โป ทำรังในซอกไม้ โพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 5 - 6 ฟอง ตัวเมียกกไข่
ตัวผู้หาอาหารมาให้ ใช้เวลาฟักประมาณ 18 วัน
อยู่รวมเป็นฝูง อยู่ตามทุ่งนาที่พอมีต้นไม้อยู่บ้าง พบทั่วทุกภาค
นกกระรางหัวหงอก
คล้ายนกกะรางคอดำ แต่ลำตัวเรียวกว่า ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร หงอน คาง และอก สีขาว ลำตัวและหางสีน้ำตาล มีแถบดำ
พาดจากโคนปาก และตา มายังด้านข้างลำคอ อยู่รวมเป็นฝูง ส่งเสียงร้องรับกันดังมาก เป็นสัญญาณเตือนภัยให้สัตว์ป่าอื่น ๆ
อาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ ป่าไผ่ หากินบนพื้นดิน รังและการวางไข่เหมือนนกกะรางคอดำ
พบทั่วทุกภาค เว้นภาคใต้
AmPol PeachThong : Suratthani
|