นกกา

นกกา

  • นกกา
เป็นนกขนาดกลาง ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร สีดำตลอดตัว ปากและขาแข็งแรง กินอาหารทุกชนิด เป็นนกที่ฉลาดมาก ฝึกให้เลียนเสียงคนได้ แต่ไม่ได้มากนัก ชอบขโมยลูกนก หรือไข่นกอื่น เป็นอาหาร และแม้แต่ลูกเป็ด ลูกไก่ ทำรังตามต้นไม้สูง วางไข่ปีละครั้ง ๆ ละ 3 - 5 ฟอง ตัวเมียกกไข่ประมาณ 18 วัน ตัวผู้หาอาหารมาเลี้ยง ลูกนกหัดบินได้เมื่อ อายุ 3 - 4 สัปดาห์ พบทั่วทุกภาค ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน คือตั้งแต่กลางเมืองใหญ่ จนถึงกลางป่าเขา

นกกาน้อย

คล้ายนกกา แต่เล็กกว่า ขนสีดำ นิสัยดุร้าย การสร้างรังและวางไข่ ในลักษณะเดียวกับนกกา วางไข่ครั้งละ 2 - 3 ฟอง ฟักไข่นาน 18 วัน ในประเทศไทยมีนกกาน้อย อยู่ 2 ชนิด คือ นกกาน้อยหงอนยาว ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ตาสีน้ำตาลแดง เมื่อยังเล็กขนด้านบนลำตัวและคอสีน้ำตาล ขนหัวปีกเป็นจุด ต่าง ๆ สีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างสีเทาแก่ มีบั้งแคบ ๆ สีขาว กลางท้องขาว หงอนสั้น เมื่อโตเต็มที่แล้วขนจะเปลี่ยนเป็นสีดำทั้งตัว ยกเว้นขนข้างคอทั้งสองข้าง จะเป็นสีขาว ขนหงอนยางตั้งตรง อยู่รวมเป็นฝูงในป่าดงดิบ พบเฉพาะภาคใต้

นกกาน้อยแถบปีกขาว
ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ครึ่งหนึ่งเป็นความยาวของหาง ตาสีแดง ขนสีดำตลอดตัว ยกเว้นส่วนกลาง ของปีกมีแถบสีขางตามยาว เมื่อยังเล็กไม่มีหงอน เมื่อโตเต็มที่จะมีหงอนสั้น ๆ อาศัยอยู่ตามป่าทึบทางภาคใต้

นกกาน้ำ

  • นกกาน้ำ
เป็นนกน้ำจำพวกหนึ่ง ยาวประมาณ 50 - 90 เซนติเมตร ปากสีดำยาวตรง ปลายปากบนแบนงองุ้ม ขอบปากบนและล่างหยัก คล้ายฟัน คอยาว กล้ามเนื้อที่หัวและคอแข็งเรง ทำให้งับเหยื่อได้แน่น ขนดำเป็นมัน ปีกสั้น หางกลมมน ตีนมีพังพืดเหมือนตีนเป็ด ช่วยในการว่ายและดำน้ำ ดำน้ำได้ลึก บินและดำน้ำได้คล่องแคล่วกว่าการเดินบนบก มีปีกแข็งแรง สามารถบินไป หากินได้เป็นระยะไกลทุกวัน บางครั้งอาจไกลถึง 100 กิโลเมตร โดยกระพือปีกอย่างช้า ๆ เมื่อบินเป็นฝูงจะเกากลุ่มเป็นรูปหัวลูกศร การหากิน แต่ละวันใช้เวลาสั้น ๆ ประมาณครึ่งชั่วโมง เวลาจากนั้นใช้ในการพักผ่อน ผึ่งแดด ตบแต่งขน

เป็นนกที่ว่ายน้ำอยู่ได้นาน ถ้าดำน้ำในทะเลจะกลืนหินเข้าไปช่วยเพิ่มน้ำหนัก มีเยื่อหุ้มตาช่วยป้องกันตาขณะลืมตาในน้ำ เมื่อ ขึ้นจากน้ำแล้วจะพักย่อยอาหาร และถ่ายกากอาหารออกเพื่อให้น้ำหนักตัวลดลงก่อนบินกลับรัง ส่วนใหญ่ทำรังอยู่บนต้นไม้เป็น กลุ่ม ๆ วางไข่ครั้งละ 3 - 6 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 28 วัน ในประเทศไทย มีนกกาน้ำอยู่ 3 ชนิด คือ

นกกาน้ำใหญ่
ตัวยาวประมาณ 90 เซนติเมตร ตัวผู้หนัก 2.3 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 1.9 กิโลกรัม ปากสีน้ำตาลอมเหลือง ตาสี ฟ้าหน้าสีเหลือง ขนที่ท้ายทอยเป็นสันแหลม มีถุงคออยู่ระหว่างโคนปากปากกับคอหอย ด้านหน้าสีเหลือง ด้านหลังสีเทา ลำตัวสีดำ อมน้ำตาล ในฤดูร้อนขนบริเวณลำตัวเหนือโคนขาจะมีแต้มสีขาว นกนี้จะออกจับปลาเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามแม่น้ำ หนองน้ำ และชายฝั่งทะเล ดำน้ำได้ลึกถึง 3 เมตร ดำได้นาน 45 วินาที วางไข่ครั้ง ละ 3 - 4 ฟอง ช่วยกันกกไข่ ฟักไข่ประมาณ 25 วัน ลูกนกหัดบินเมื่ออายุได้ 35 วัน พบทางภาคใต้ ภาคกลางตอนล่าง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

นกกาน้ำเล็ก
ตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นนกกาน้ำที่มีขนาดเล็กที่สุดของไทย ตัวสีดำสนิท นอกจากในฤดูร้อนขนที่หัว จะสีขาว หรือสีน้ำตาลแซมเล็กน้อย ในฤดูหนาวขนที่หัวจะเปลี่ยนเป็นสีดำ และขนบริเวณคอเปลี่ยนเป็นสีขาว นกชนิดนี้มักอยู่เป็นคู่ ๆ หรือกลุ่มเล็ก ๆ วางไข่ครั้งละ 3 - 5 ฟอง ผลัดกันกกไข่ ใช้เวลาฟักประมาณ 25 วัน พบทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นกกาน้ำปากยาว
ตัวยาวประมาณ 60 เซนติเมตร ปากและหัวแคบ และยาวเรียวกว่านกกาน้ำชนิดอื่น ในฤดูร้อนขนบริเวณ หลังตาจะมีแต้มสีขาว เห็นได้ชัด ส่วนในฤดูหนาวถุงคอจะเป็นสีเหลือง นกชนิดนี้จะหากินตามลำพังตามซอกหลืบหิน มักไม่ทิ้งกัน ขณะบินจะยืดหัวและคอเป็นแนวตรงคล้ายหงส์ และห่าน ทำรังบน พื้นดิน วางไข่ครั้งละ 3 - 6 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 28 วัน พบเฉพาะตามชายฝั่งทะเล ปัจจุบันหาได้ยาก

หน้าหลัก

ถัดไป


AmPol PeachThong : Suratthani