นกตีทอง

นกตีทอง

ก๊ง ก๊ง ก๊ง ! เสียงร้องที่เหมือนเสียงของฆ้อนของช่างทองที่ตีลงบนทั่ง คือที่มาของชื่อ " นกตีทอง " นกตีทองจัดอยู่ในวงศ์นกโพระดก มีความยาวจากปากถึงปลายหาง ประมาณ 16 เซ็มติเมตร จัดเป็นนกที่มีขนาดเล็ก ลำตัวของนกมีขนาดค่อนข้างป้อม คอสั้น หัวโต มีปากที่ค่อนข้างใหญ่ และมีขนแข็งที่โคนปากจำนวนมาก ขามีลักษณะสั้นแต่เท้าใหญ่ เพื่อใช้ในการ เกาะต้นไม้ นกตีทอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน และคล้ายกันมาก จุดสังเกตุที่ค่อนข้างชัดคือหน้าผากมีสีแดง และที่หน้าอกก้อมีสีแดงเหมือนกัน แต่มีลักษณะเป็นแถบ ส่วนหน้าตั้งแต่โคนปากมีแถบสีดำคาดผ่านตาไปถึงท้ายทอย แถบเหนือตาและโหนกแก้มมีสีเหลือง ด้านบนของลำตัวมีสีเขียวคล้ำ สังเกตได้ง่าย ส่วนล่างของลำตัว ตั้งแต่ อก ท้อง จนถึงโคนหาง มีสีเขียวออกเหลือง และมีลายเขียวอมดำ เต็มไปหมด ในนกที่ยังไม่โตเต็มวัย จะไม่มีสีแดงที่หน้า หน้าอกและสีบริเวณใบหน้าจะจาง

นกตีทองเป็นนกที่ไม่ชอบบิน มักจะเกาะหาลูกไม้ตามกิ่งไม้มากกว่า และเมื่อกินจนอิ่มแล้วจะส่งเสียงร้อง ก๊ง ก๊ง ก๊ง พร้อมกับหันซ้ายทีขวาที และกระดกหางขึ้นลง เข้ากับจังหว่ะเสียงร้องของมัน อาหารของมันได้แก่ ผลม้และลูกไม้ เช่นลูกไทร ลูกตะขบ นกตีทองจัดได้ว่าเป็นนกที่หวงถิ่นหากิน มันจะทำรังตามลำต้น หรือกิ่งไม้ที่มีความสูงประมาณ 3-17เมตร โดยใช้ปากเจาะเข้าไปจนเป็นโพรงรัง ความกว้าง ของรังพอดีกับตัวนก และมีความลึกประมาณ 8-17 ซม. นกตีทองจะวางไข่ประมาณ 4-5 ฟอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันกกไข่เป็นเวลา ประมาณ12วัน เมื่อลูกอายุได้ 3 สัปดาห์ ตาจะเริ่มเปิด และโตจนพอที่จะออกจากรังได้ เมื่อลูกนกมีอายุราว 8 สัปดาห์ นกตีทอง เป็นนกที่รักความสะอาดพอสมควร โดยพ่อและแม่นกจะคาบสิ่งสกปรกและมูลของลูกนกไปทิ่งห่างจากรัง

เนื่องจากนกตีทองเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ง่ายโดยเฉพาะโดยเฉพาะในเมืองตั้งที่ระดับที่ราบจนไปถึงความสูง 800 เมตร ความน่ารักและสีสันที่สะดุดตา ทำให้มันเป็นนกที่นักดูนกจำตัวได้ในอันดับต้นๆของนกที่พบตัวได้ง่าย โดยไม่ต้องออกไปหาดูตัวในป่า

หน้าหลัก

ถัดไป


AmPol PeachThong : Suratthani