นกแก้ก

นกแก้ก

เป็นนกเงือกขนาดเล็กสุดของไทย ยาวประมาณ 80 เซนติเมตร ปากใหญ่ หนา ปลายแหลม โค้งเล็กน้อย สีขาวอมเหลือง เหนือจงอยปากบนมีโหนกแข็ง รูปคล้ายทรงกระบอกปลายมน โคนปากล่างสีดำ หนังรอบตาสีเทาอมฟ้า คอและลำตัวยาว ขนบริเวณ ลำคอถึงเกือบกลางอก และลำตัวตอนบนสีดำ ต่อไปถึงลำตัวตอนล่างสีขาว ขอบ ปลายปีก และก้นสีขาว หางและนิ้วตีนสีดำ ขาสีเทา ร้องแก๊ก แก๊ก อยู่รวมเป็นฝูง มักเกาะบนต้นไม้สูง ๆ ผสมพันธุ์ระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ทำรังบนโพรงไม้เหนือพื้นดินประมาณ 18 เมตร ตัวเมียเข้ารังแล้วจะปิดรัง เหลือเพียงปากโผล่ออกมารับอาหารจากตัวผู้ วางไข่ครั้งละ 2 - 4 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 1 เดือน เมื่อลูกนกอายุประมาณ 2 สัปดาห์ พ่อแม่นกจะช่วยกันทำลายปากโพรงที่ปิดรัง ให้แม่นกออกมาแล้วปิดรังใหม่ ลูกนกจะอยู่ในรัง ระหว่างสองเดือนครึ่งถึงสามเดือน ในประเทศไทย มีนกแก้ก อยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกมีอยู่ทุกภาค เว้นภาคใต้ตอนล่าง อีกชนิดหนึ่งมีเฉพาะที่ภาคใต้ตอนล่าง เท่านั้น

หน้าหลัก

ถัดไป


AmPol PeachThong : Suratthani